กล่าวคือ
ฮาร์ดิสก์จะทำงานหมุนแผ่นโลหะกลมที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล(ptatters)
อยู่ตลอดเวลา
การเข้าไปอ่านหรือเขียนฮาร์ดดิสก์แต่ละครั้ง
หัวอ่านซึ่งลอยอยู่เหนือผิวดิสก์โลหะนิดเดียว
ขนาดความจุ ความสามารถ
และรูปแบบของฮาร์ดิสก์ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวาดเร็วหลังจากมีการเปิดตัวฮาร์ดิสก์พร้อมๆ
กับเครื่อง IBM XT จากเดิมมีความจุเพียง 10
เมกะไบต์ มีความหนา 3 ถึง 4
นิ้ว จนต้องใช้ช่องใส่ขนาด 5.25
นิ้ว
ความเร็วการเข้าถึงข้อมูล 87
มิลลิวินาที เปลี่ยนไปเป็นความจุ 200 เมกะไบต์
มีขนาดเล็กกว่าฟลอปปี้ดิสก์ 3.5 นิ้ว นิ้ว
ความเร็วการเข้าถึงข้อมูล 18
มิลลิวินาที
และในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงความจุ
เป็นหน่วยกิกะไบต์แล้ว
ขนาดก็เล็กลงพร้อมกันนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์แล้ว
1.
ตัวถังของฮาร์ดิสก์จะเป็นแผ่นโลหะจะเป็นแผ่นโลหะหุ้มโดยรอบและไม่มีรอยรั่วเพื่อป้องกันฝุ่นผงเข้าตัวฮาร์ดดิสก์
สาเหตุที่เตาต้องป้องกันฝุ่นผงก็คือ
ฝุ่นผงมักจะมีขนาดใหญ่พอที่จะเข้าไปแทรกช่องว่าระหว่างหัวอ่านกับแผ่นดิสก์
ครั้นหัวอ่านเคลื่อนที่ก็จะเป็นการลากถูฝุ่นผงไปบนผิวดิสก์
ทำให้สารแม่เหล็กที่เคลือบผิวเป็นรอยขีดข่วนเสียหาย
และไม่สามารถเก็บข้อมูลได้
2.
ที่ด้านล่างสุดเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบตุมการทำงานของหัวอ่านและการหมุนดิสก์
เราเรียกแผงวงจรนี้ว่า ลอจิกบอร์ด (logic
board)
แล้วแปลงคำสั่งดังกล่าวให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
เพื่อกระทำหัวอ่านให้เป็นแม่เหล็กตามจังหวะ
ข้อมูลที่ป้อนให้กับมัน
นอกจากนั้นลอกจิกบอร์ดยังทำหน้าที่ควบคุมความเร็วในการหมุนดิสก์ให้คงที่
และบอกให้หัวอ่านเคลื่อนที่ไปมายังบริเวณข้อมูลที่ต้องการเขียน/อ่านอีกด้วย
สำหรับดิสก์ที่เป็นระบบ IDE (Intergrated Drive
Electribuc/x)
คอนโทรลเลอร์สำหรับควบคุมดิสก์จะประกอบเป็นส่วนหนึ่งของลอจิกบอร์ดไปเลย
3.
แกนหมุนซึ่งประกอบด้วยแผ่นดิสก์โลหะ 4
แผ่น 8 หน้า
จะเชื่อมติดกับมอเตอร์แล้วหมุนด้วยความเร็วหลายพันรอบต่อวินาที
จำนวนแผ่นดิสก์และหน้าดิสก์ที่มีการเคลือบสารแม่เหล็กจะเป็นตัวบอกขนาดความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์
อนึ่ง
การเคลือบสารแม่เหล๊กที่เป็นอัลลอย(alloy)
จะเคลือบบางเพียงเศษสามส่วนล้านนิ้วเท่านั้น
4.
แกนหัวอ่านซึ่งถูกกระตุ้นการทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า
จะถึงหรือผลักแขนหัวอ่านให้วิ่งไปทั่วแผ่นดิสก์ด้วยความแม่นยำ
โดยการปรับแต่งการหมุนของแกนหัวอ่านจะกระทำอยู่ตลอดเวลา
โดยการอ่านตำแหน่งแทร็กที่มีการเขียนเป็นแนววงกลมทั่วไปบนแผ่นดิสก์
5.
หัวอ่าน/เขียน
จะติดอยู่กับแขนที่ยิ่นออกไปบนแผ่นดิสก์
เวลาเขียนข้อมูล
หัวอ่านจะนำข้อมูลที่มาจากตัวควบคุมดิสก์(disl
controller)
แปลงเป็นสนามแม่เหล็กเพื่อเหนี่ยวนำให้สารเคลือบผิวเกิดการเรียงตัวใหม่
โดยให้เป็นไปในทิศทางของข้อมูลในทางกลับกันหรือในการอ่านหัวอ่านก็จะว่างผ่านสนามแม่เหล็กที่เกิดจากสารแม่เหล็กที่ผิว
แล้วถอดรหัสสนามแม่เหล็กเหล่านั้นให้กลายเป็นข้อมูล
6.
เมื่อซอฟต์แวร์ของคุณบอกให้ดอสอ่านหรือเขียนข้อมูล
ดอสจะสั่งให้หัวอ่านวิ่งไปที่แฟต (FAT)
ซึ่งเป็นบริเวณที่เก็บดัชนีชี้ตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์ต่างๆ
บนดิสก์
ข้อมูลในแฟตนี้จะทำให้หัวอ่านสามารถกระโดดไปอ่านข้อมูลไฟล์ที่คลัสเตอร์นั้นๆ
ได้ทันที
กรณีที่เป็นการเขียนข้อมูล
หัวอ่านก็จะกระโดดไปคลัสเตอร์ที่แฟตบอกว่าว่างได้เช่นเดียวกัน
7. ไฟล์หนึ่งๆ
อาจถูกแบ่งซอยออกเป็นหลายคลัสเตอร์
แต่ละคลัสเตอร์อาจอยู่บนและแผ่นคนละหน้าดิสก์ก็ได้
การไม่ต่อเนื่องของไฟล์นี้เองทำให้แฟต
(FAT) มีความสำคัญ กล่าวคือ
แฟตจะบอกว่าคลัสเตอร์ใดเป็นคลัสเตอร์เริ่มต้น
จากนั้นจะมีการบอกคลัสเตอร์ต่อไปของไฟล์เหมือนการโยงโซ่ไปเรื่องๆ
จนครบทั้งไฟล์
ในการกรณีที่มีการเขียนข้อมูลลงดิสก์
แฟตจะบอกว่าคลัสเตอร์ไหนที่ว่าง
ดอสก็จะสั่งให้หัวอ่านวิ่งไปเขียนข้อมูลในคลัสเตอร์ที่ว่าง
ซึ่งอาจจะมีหลายคลัสเตอร์ที่ไม่ต่อเนื่อง
เมื่อเขียนเสร็จดอสจะสั่งให้หัวอ่านกลับไปที่แฟตอีกที
เพื่อเขียนบันทึกการโยงคลัสเตอร์แต่ละคลัสเตอร์เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งไฟล์
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น